1. ตู้ฟักไข่ (ขายด้วยอุดมการณ์ส่งเสริมเกษตรพึ่งพาตนเอง) เซ็ททุกอย่างไว้ให้แล้วครับ มือใหม่ก็ฟักได้ แถมยังไม่ต้องลงทุนเยอะ
เป็นตู้ฟักไข่ที่ผมตั้งใจคิดให้ฟักได้จริง และทําให้ต้นทุนต่ําที่สุด โดยหาวัสดุและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อจะมาขายให้ลูกค้าในราคาที่เอากําไรน้อยที่สุดเท่าเรารับไหว ขายด้วยอุดมการณ์อยากให้คนหันมาสนใจวิถีพึ่งพาตนเอง มากกว่าเเสวงหากําไรครับ ตู้นี้ไม่มีพัดลมนะครับ จึงเจาะช่องระบายเพิ่ม ใช้ไฟแค่หลอดเดียว โดยผมคํานวนมาละเอียดแล้วครับ (ประหยัดไฟ) หน้าร้อนใช้ 40-60 วัตต์ก็เพียงพอ ถ้าหน้าหนาวช่วงดึกๆ 60 วัตต์เอาไม่อยู่ ให้ใช้ 100 วัตต์ไปเลยครับ (แล้วแต่บ้านใครหนาวกว่ากันนะ) แต่รับรองว่าตู้นี้ไม่กินไฟมากครับ ด้วยเครื่องตรวจจับอุณหภูมิ ตัดไฟอัตโนมัต ตามช่วงอุณหภูมิที่ต้องการ (เดี๋ยวผมเซ็ตเครื่องไปให้) [ผมเสริมคํานวนค่าไฟให้ตอนท้ายนะ] ช่องระบายที่เจาะเพิ่ม เพื่อช่วยระบายแก๊สที่เกิดจากไข่ ปรกติแล้วตู้มีพัดลมจะเจาะแค่ 4 ช่องครับ ถ้ากรณีความชื้นตกให้หาเทปกระดาษหรืออะไรก็ได้ไปปิด ที่ไม่ใช่เทปใส (เพราะมันมีกลิ่น ไม่ควรใช้ครับ) การพลิกไข่ อย่างน้อยต้องวันละ 2 ครั้งตามสะดวกนะครับ อาจจะเช้า-เย็น หรือมากกว่านั้นได้เต็มที่เลย เพราะแม่ไก่จริงๆเค้ากลับไข่วันๆนึง 40 กว่าเที่ยวเลยทีเดียว (ความเป็นแม่อ่ะเนอะ) เชื้อมันจะไม่ติดที่เปลือกไข่ในช่วงกลางถึงท้ายครับ มีความเชื่อกันด้วยว่าการกลับไข่เป็นการคลุกให้เชื้อเดินดีขึ้น (แต่สําหรับผมว่าไม่ต่างครับ) ทีนี้ส่วนตัวผมกลับทุกๆ 6 ชั่วโมงได้ผล 90% up ทุกครั้ง เวลาที่เลือกจะเป็นเวลาที่ผมตื่นอยู่คือ 6.00-12.00-18.00-24.00 อันนี้แนะนําใครสะดวกก็ทําดูครับ สายตัวจับอุณหภูมิที่ต้องยื่นลงไปในตู้ ผมเซ็ทให้ความสูงได้ระดับแล้วนะครับ แต่ถ้าเกิดผมพลาดจิ้มลึกลงไปจนชนไข่ ให้ลูกค้าขยับขึ้นมานิดนึงได้นะครับ (มันขยับได้) เอาคร่าวๆเท่านี้ก่อน สงสัยเพิ่มเติมแอดไลน์ผมมาคุยกันได้เลยครับ ไม่ซื้อแต่แวะมาถามก็ได้ หรืออยากจะให้ผมช่วยแนะนําว่าอยากทําเองก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยอย่างละเอียดๆเลยครับ หลักการทํางาน หลอดไส้จะทําหน้าที่เป็นฮีตเตอร์ ทําให้อุณหภูมิภายในห้องฟักสูงขึ้น และเครื่องตัดการทํางานของหลอดไฟจะตัด หลังจากตรวจวัดอุณหภูมิเมื่อถึงค่าที่กําหนด (37.5°-37.7°) อุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้จะทําให้น้ําที่อยู่ภายในตู้ระเหยขึ้น ทําให้มีความชื้นเกิดขึ้นภายในห้องฟัก และความร้อนจะลอยตัวสูงเพราะมีน้ําหนักเบาและดันตัวออกทางช่องระบายที่เปิดไว้ ทําหน้าที่ประหนึ่งปั๊มอากาศ จะขับแก๊สที่ไข่ปล่อยออกมาได้ในระดับนึง (แต่ถ่ายเทได้ดีไม่เท่าติดพัดลม) และเมื่อเปิดช่องระบายทิ้งไว้มาก อ๊อกซิเจนก็จะสามารถเติมเข้ามาภายในห้องฟักได้โดยไม่ต้องติดพัดลม ปัจจัยในการฟักไข่ (ของตู้ฟัก) อุณหภูมิ ความชื้น อ๊อกซิเจน การระบายแก๊สออก คงที่สม่ําเสมอ ปัจจัยอื่นๆ ความเเข็งแรงของเชื้อ พ่อแม่พันธุ์ การดูแลความสะอาดภาชนะอุปกรณ์ ความสะอาดของเปลือกไข่ การขนส่ง อุณหภูมิและควาทชื้นในการเก็บรักษาไข่ก่อนนําเข้าฟัก การกลับไข่อย่างสม่ําเสมอ ฯ เราทําหน้าที่แทนความเป็นแม่ในการทําให้เด็กๆเกิดมา อาจจะดูยุ่ง (และเหมือน)จะยากนิดนึงนะครับ แต่จริงๆก็ไม่ได้ยากขนาดนั้น ต้องลองทําดูเองครับถึงจะเข้าใจ สิ่งที่ผมบอกไปเป็นข้อมูลต่างๆที่อยากให้ทําความเข้าใจไว้ก่อน ถึงจะทําได้หรือไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะฟักออกไม่สําเร็จนะครับ อาจจะลด % การเกิดลงเล็กน้อย หรือไม่ลดเลยก็เป็นไปได้ และความรู้จริงๆมันจะเกิดขึ้นเมื่อตอนเราลงมือทําไปแล้ว และหมั่นสังเกตุครับ ส่วนนี้เสริมครับ ผมพิพม์ไว้อีกที่ ขอเอามาโพสต์ด้วย หลอดไฟ 60w หากติดเป็นเวลาประมาณ 60% ด้วยเครื่องตัดไฟตรวจจับอุณหภูมิ เป็นเวลา 21 วัน (ยกตัวอย่างในการฟักไข่ไก่ละกันนะครับ และค่าไฟย